เหตุการณ์ 14 ตุลา อดีตผู้นำนักศึกษาผู้เรียกร้องสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล

ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ขณะนั้นเป็นนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 เป็นหนึ่งในแกนนำของนักศึกษาที่เรียกร้องรัฐธรรมนูญ และขอให้รัฐบาลลาออก โดยในการเดินขบวน เสกสรรค์รับหน้าที่เป็นผู้ควบคุมฝูงชน เมื่อแกนนำของผู้ชุมนุมได้เข้าเจรจากับฝ่ายรัฐบาล และบางส่วนได้เข้าเฝ้า ฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เสกสรรค์เป็นผู้ควบคุมฝูงชนรอคำตอบอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า จนกระทั่งถึงเวลาค่ำ ซึ่งนับว่าผ่านไปหลายชั่วโมงแล้ว ก็ยังไม่ทราบผลการเจรจา เมื่อเข้ากลางดึก ฝูงชนก็เริ่มกระสับกระส่าย และเริ่มไม่ไว้ใจกันเอง บ้างถึงขนาดว่าแกนนำเหล่านั้นหักหลังพวกเดียวกันเองเสียแล้ว เสกสรรค์ก็ได้ตัดสินใจโดยพลการ นำพาฝูงชนเคลื่อนสู่หน้าพระตำหนัก ฯ เพื่อขอพึ่งพระบารมี และถึงแม้ว่าจะได้พบกับ ธีรยุทธ บุญมี ซึ่งเป็นแกนนำผู้ชุมนุมอีกคนที่ได้เข้าเฝ้า ฯ ทั้ง 2 ได้พูดคุยทำความเข้าใจกัน และขอให้ผู้ชุมนุมยุติการชุมนุมโดยสงบ แต่ถึงขณะนั้นอารมณ์ของผู้ชุมนุมก็ไม่อาจควบคุมความสงบไว้ได้แล้ว จนนำไปสู่การนองเลือดในรุ่งเช้าของวันรุ่งขึ้น ซึ่งหลังจากนี้ เสกสรรค์และจิระนันท์ พิตรปรีชา ซึ่งเป็นคู่รักกันก็ได้หลบหนีเข้าป่า เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในช่วง พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2523 โดยมีชื่อจัดตั้งว่า "สหายไท" ในช่วง พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2523 เสกสรรค์มีความเห็นขัดแย้งหลายประการกับกรรมการกลางของพรรคฯ และต่อมาได้แยกตัวออกจากพรรค ฯ และเดินทางกลับเข้าเมืองและได้รับนิรโทษกรรมในเวลาต่อมาจากคำสั่งที่ 66/2523 ในขณะที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เสกสรรค์ ประเสริฐกุล http://readery.co/9786167474021 http://readery.co/9789749748992 http://www.imdb.com/title/tt0295145/ http://hilight.kapook.com/view/45249 http://www.posttoday.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%... http://web.archive.org/20040406083208/www.geocitie... http://ulib.arsomsilp.ac.th/ULIB5/dublin.php?ID=78... http://library.car.chula.ac.th/search*tha?/i974974... http://intanin.lib.ku.ac.th/search*thx?/i974974834... http://art2.culture.go.th/index.php?case=artistDet...